แคนาดา – อันดับหนึ่งของโลก
แคนาดา - อันดับหนึ่งของโลก
แคนาดา – อันดับหนึ่งของโลก Ranked as #1 in the World For the past several years, a United Nations survey has found Canada
| |||||
| |||||
| |||||
|
แคนาดา – อันดับหนึ่งของโลก Ranked as #1 in the World For the past several years, a United Nations survey has found Canada
| |||||
| |||||
| |||||
|
In 1867, Ontario, Quebec, New Brunswick and Nova Scotia formed a confederation. On July 1, 1867, the British North America Act declared Canada a country. We celebrate Canada’s national day on July 1 as Canada Day.
The name “Canada” originally came from a First Nations’ word “kanata” meaning village. Later, European map makers changed it to “Canada” to identify all the land north of the St. Lawrence River. In 1965, we adopted the red and white flag with the maple leaf as our official flag.Queen Elizabeth II of England is still Canada’s Head of State, and until 1982 Canada could not make any changes to its constitution without the approval of the British Government. In 1982 the Constitution Act came into effect, which allows Canada to make these changes without British approval. We made the Charter of Rights and Freedoms part of the Constitution in 1982. The Official Languages Act protects English and French, the two official languages in Canada.
Canada is the second largest country in the world with 10 million square kilometres of land mass. The country has a population of approximately 30 million people. Three oceans border the country – the Atlantic, the Pacific and the Arctic. Due to its size, there are many different geographical areas and regions. We divide these into the following: the Atlantic region, Central Canada, the Prairie Provinces, the West Coast and the North.
We divide the country into 10 provinces and 3 territories each with its own capital. The capital of Canada is Ottawa.People from 150 different countries call Canada home. The first people who lived in Canada were the aboriginals, the native people of Canada. They are separated into three distinct groups: First Nations who lived in all areas of Canada, the Inuit who lived in the northern region, and the Metis who are descendants of First Nations women and English and French fur traders.
The Atlantic Provinces: Fishing is the oldest industry in this region. Agricultural crops such as fruit and potatoes and extensive forests which produce pulp, paper and lumber form part of the industry. Traditionally dependent on fishing and farming, they are developing other natural resources such as oil, copper, nickel and cobalt.
Central Canada: Ontario and Quebec form the industrial and manufacturing heart of Canada. They produce 3/4 of Canada’s manufactured goods. More than half of Canada’s population live in the cities in the southern part of Ontario and Quebec. Three quarters of the people living in Quebec speak French. Quebec’s major products include gold, copper, silver and iron ore. Quebec is also the country’s largest producer of hydroelectricity. One third of Canadians live in Ontario. Products from Ontario’s auto industry are one of Canada’s key exports. Another is steel and machinery.
The West Coast: Europeans settled British Columbia in the early 1800’s. The railroad being built by the Government in the late 1800’s made moving easier. Thousands of Chinese came to B.C. during this period to work on the railroad. British Columbia has the most valuable forest industry in Canada. Salmon fishing is not only a popular sport, but also an important economic factor. Pacific salmon is exported all over the world.
Prairie Provinces: Quebec is the only Canadian province that selects its new immigrants which regularly sends its officers on missions around the world.This land of opportunity, first settled in the seventeenth century, is a destination of choice for new immigrants because of its geographical location, the diversity of its population and its exceptional lifestyle. Growth and development touch every field of economic activity, from aeronautics to environment, pharmaceutical research to information technology and natural resources to cultural events.
The North: The Yukon and the Northwest Territories cover 1/3 of Canada. This vast region has a very small population of which most are Aboriginals. We have given several Aboriginal languages equal status as English and French. During the Gold Rush at the end of 1800, thousands of miners came to make their fortune. Mining is still an important industry in this region.
The Government: Canada is a democracy with a parliamentary Government. The Prime Minister is the leader of the political party with the largest number of elected Members of Parliament in the House of Commons. We usually hold federal elections every four years. Our Government consists of three parts: Federal, Provincial and Municipal.
The Federal Government is responsible for things that affect all of Canada such as national defence. Provincial Governments are responsible for education, health care, etc. and shares some issues with the Federal Government. Municipal Governments are in charge of the police force, the fire department and environmental issues.
The Justice System: As a citizen or a landed immigrant, you have equal access to the justice system. The Canadian Charter of Rights and Freedoms guarantees every resident fundamental freedoms, legal rights and equality under the law. We hope that you will take the time to learn more about Canada, its history and role in the political world of today.
Canada – a Land of Superlativesแคนาดา…… แผ่นดินอันสวยงามและกว้างใหญ่เป็นประเทศที่ยิ่งใหญ่เกินกว่าจินตนาการที่ท่านเคยรับรู้จัก ภูมิประเทศกว้างขวางหลากหลายอันประกอบไปด้วยเทือกเขาสูงเสียดฟ้า, ทะเลสาปใหญ่น้อยหลายแสนแห่ง, ทะเลทรายและธารน้ำแข็ง ทรัพยากรธรรมชาติมากมายเหลือเฟือ ผืนแผ่นดินเพาะปลูกทำการเกษตรอันอุดมสมบูรณ์และแหล่งน้ำจืดขนาดยักษ์ สิ่งสำคัญที่สุดคือ ประชากรหลากหลายเผ่าพันธ์จากทั่วทุกมุมโลกที่อพยพเข้าไปช่วยกันสร้างประเทศแคนาดาให้เป็นประเทศที่ยิ่งใหญ่ในโลก แคนาดาเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก รองลงมาจากรัสเซีย ด้วยขนาดพื้นที่กว่า 10 ล้านตารางกิโลเมตร แผ่นดินด้านตะวันตกจรดตะวันออกมีเวลาห่างกันถึง 6 ช่วงเวลา (Time zone) ล้อมรอบด้วยมหาสมุทรใหญ่ 3 แห่งคือ มหาสมุทรแปซิฟิค, อาร์คติคและแอตแลนติค ทำให้แคนาดามีชายฝั่งทะเลยาวที่สุดในโลก เมื่อมุ่งหน้าลงใต้สู่อเมริกา แนวเขตแดนระหว่างแคนาดา-อเมริกา ถือได้ว่าเป็นพรมแดนเปิดที่ยาวที่สุดในโลก |
ถนนซุเปอร์ไฮเวย์ที่เชื่อมประเทศแคนาดาภาคตะวันออก-ตะวันตกเข้าด้วยกัน เป็นทางหลวงไฮเวย์ที่ยาวที่สุดในโลกด้วยขนาด 7,777 กิโลเมตร แคนาดามีสัดส่วนจำนวนกิโลเมตรของถนนและทางรถไฟต่อจำนวนประชากรสูงที่สุดในโลก (สูงกว่าอเมริกา) ถนนยัง (Yonge street) ในกรุงโตรอนโตเป็นถนนสายที่ยาวที่สุดในโลก อีกทั้ง อาคารหอคอยซีเอ็น (CN Tower) เป็นอาคารโครงสร้างอิสระ (Free-standing structure) ที่สูงที่สุดในโลกด้วยความสูง 553.34 เมตร ทะเลสาปขนาดใหญ่มหึมา, แม่น้ำมากมายหลายสายและธารน้ำแข็งในแคนาดา เป็นแหล่งเก็บกักน้ำจืดบริสุทธิ์ที่มีปริมาณมากถึง 1 ใน 4 ของปริมาณน้ำจืดสะสมทั้งหมดในโลก ทะเลสาปสุพีเรีย (Lake Superior) เป็นทะเลสาปน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในโลกด้วยพื้นที่ 82,100 ตารางกิโลเมตร เกือบเท่ากับขนาดของประเทศเกาหลีใต้ ท่านอาจจะไม่เชื่อว่ามีทะเลสาปถึง 2 ล้านแห่งในแคนาดา |
แคนาดาเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี มีประชากรหลากหลายวัฒนธรรมอยู่ร่วมกันกว่า 31 ล้านคน ในปี 1972 แคนาดาเป็นประเทศแรกที่ส่งดาวเทียมสำหรับการสื่อสารโทรคมนาคมภายในประเทศ ในปี 1995 แคนาดาส่งดาวเทียม Radarsat ซึ่งเป็นดาวเทียมพาณิชย์ดวงแรกที่มนุษย์สามารถมองเห็นทะลุผ่านก้อนเมฆและในความมืด |
Canadarm เป็นหุ่นยนต์ความสามารถสูงที่พัฒนาโดย National Research Council ของแคนาดา เพื่อส่งไปร่วมทำงานในโครงการกระสวยอวกาศขององค์การNASA อุตสาหกรรมยานอวกาศของแคนาดามีความยิ่งใหญ่อยู่ในลำดับที่ 6 ของโลก (ลำดับเดียวกันกับอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์) เชื่อไหมว่า โทรศัพท์เครื่องแรกของโลก ถูกคิดค้นและผลิตขึ้นในแคนาดาโดยนักวิทยาศาสตร์ Alexander Graham Bell ทำให้อุตสาหกรรมการสื่อสารโทรคมนาคมมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในแผ่นดินกว้างใหญ่ไพศาลเช่นแคนาดา ทุกวันนี้ ชาวแคแนเดี้ยนเป็นผู้ที่มีการใช้โทรศัพท์มากที่สุดในโลก |
Migrating to other country is a very crucial decision of life. Everyone is considering positive development and future prosperous life for self and family members. Canada is identified as one of the best countries in the world to live in, duly endorsed by the United Nations Human Development Index for the past several years.
Canada offers many opportunities to new immigrants in a free environment. Strong reasons to select Canada as native country for rest of your life. Canada, second largest country in the world in area (after Russia) but one of the most sparsely populated.
Canada occupies roughly two-fifths of the North American continent. Its total area, including the Canadian share of the Great Lakes, is 3,849,674 square miles (9,970,610 square km), of which 291,576 square miles (755,180 square km) are inland water; also included are its adjacent islands, except Greenland, a self-governing part of the Danish kingdom, and Saint-Pierre and Miquelon, parts of the French Republic.
Canada is bounded on the north by the Arctic Ocean, on the east by the Atlantic Ocean, on the south by 12 states of the United States, and on the west by the Pacific Ocean and the U.S. state of Alaska. The national capital for the 10 provinces and three territories of Canada is Ottawa.
Health Care System Health care services are covered under the health insurance plan of the respective provincial government. Like in Ontario province ,it is covered under Ontario Health Insurance Plan (OHIP)You pay no premiums for health coverage. Federal and provincial taxes fund health care. Your coverage is based solely on residency and is not determined by wheather you have a job or are unemployed ,or where you pay your income tax.
You are eligible for health insurance benefit if : You are Canadian Citizen, landed immigrant or convention refugee and You make your permanent and principal home in your province and You are present in Canada for at least 730 days in any 5 years period
Most peaceful and compassionate nation – A land of great natural beauty and resources. It is free country. All enjoy many rights under Canadian Charter of Rights and Freedom Free health care
Canadian Education (High standard of education in the world) Education quality in Canada is superior in the world.Education is one of the biggest provincial expenditures,second to the health care. Please note that education is free to each child upto grade 12.
Public education is managed by the provincial governments and paid for by taxes. Education system varies from province to province .It includes 6-8 years of elementary school,4-5 years of secondary school and 3-4 years at the university at the graduate level.
When you enroll your children, the admission is decided based on the date of birth only.The admission is granted to the respective class as per the birth date at any point of time during the year ( even the last month of the academic year ).While enrolling your children take their birth certificates,record of landing, passport and immunization records.
Economy of Canada- Most developed and diversified economies in the world. The canadian economy is strong since 1994. Canada’s economy performance has been characterized by growth ,low inflation , stable unit labor costs,improved cost competitiveness,record exports,and a healthy level of business investment.
Canada continues to maintain one of the lowest inflation rate in the world. Highest standard of living in the world. An excellent infrastructure. A highly educated and skilled labor force. Well-deserved reputation as a successful trading nation. Because of its economical potential,Canada has continued to attract a large volume of direct investment from foreign sources. Government policies are creating a more favorable climate for domestic and foreign investors, including a low-inflation environment.
Currency -The Canadian dollar is the basic unit of money. The most common paper bills are the $ 5,$ 10 & $ 20 but $ 50 and $ 100 bills are also used. Canadian coins include the penny- (1 Cent) / nickel – ( 5 Cents ) / dime – ( 10 Cents ) / quarter – ( 25 cents)/ looni – (1 dollar coin ) / tooni – ( 2 dollar coin )
Government System – Canada has three tire government system. Federal Government is like Central government in India.Provincial Government is like State government in India.While municipal Government is similar like in India looking after the local administration of particular city.
Canada is : A Constitutional Monarchy – Queen Elizabeth II is head of state, represented in Canada by the Governor General. A Federal State – Some responsibilities are federal (such as defence and foreign affairs); some are provincial (such as education and health ) A Parliamentary Democracy – Parliament consists of a Senate and a House of Commons;Prime Minister is leader of party with majority in Commons.
The government is based on the British parliamentary system , with a Governor General (the Crown’s representative) and a Parliament consisting of an elected House of Commons and an appointed Senate. Parliament received the powers over matters of “particular” interest (such as property and education).
Canadian Charter of Rights- The Canadian Charter of Rights is very important. It is similar like a provision of 7 freedom given in the Indian constitution. The Canadian Chapter of Rights guarantees fundamental rights and freedoms such as: Equality rights Legal rights Language rights Mobility rights Freedom of expression Freedom of religion Freedom of association Democratic rights allow Canadian citizens to vote and participate in elections.
If you are a permenent resident,you are entitled to most of these rights,although you cannot vote until you obtain Canadian Citizenship.
Why immigrate to Canada?Canada is one the leading G-8 Nations and the second largest country in the world with a population of approximately 30 million people. It is a highly developed country, with excellent working conditions, an outstanding education system, a very high standard of living and a health care system ranked one of the best in the world. The United Nations has ranked Canada the best place to live for seven consecutive years. Their surveys are based on quality of life, educational opportunities, unemployment and crime rates, and life expectancy. | |
Canada is a country composed of immigrants from practically every country in the world. Canada’s success is largely due to the contributions made by these immigrants. Each year, Canada welcomes more than 200,000 new immigrants. The diversified backgrounds and cultures are what makes Canada unique. Multiculturalism is promoted to help maintain this unique “melting pot”. No matter where you come from, once you are a landed immigrant you have all the rights of a Canadian citizen. These rights are protected under the Charter of Rights and Freedoms. Should you wish to become a citizen, you can do so after you have lived in Canada for three years. As a Canadian citizen, you can apply for a Canadian passport and you are eligible to vote. | |
Canadian Diversity Brings Blessings and ChallengesRecent census reveals Canada‘s percentage of foreign-born among highest in the world (Special to Newsline from Canadian correspondent Errol P. Mendes) OTTAWA The foreign-born population now stands at 18.4 percent of the general population compared to 22 percent for Australia and 11 percent for the U.S. | |
|
Toronto: เมืองศูนย์กลางของผู้คนจากทั่วโลกToronto: the world in one city หลายคนอาจจะไม่ค่อยเชื่อว่าว่าโตรอนโตเป็นเมืองที่มีวัฒนธรรมหลากหลายมากที่สุดในโลก ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรกันแน่ ในปี ๑๙๙๙ ปีเดียวมีผู้อพยพทั้ง immigrantsและ refugeesจากทั่วโลกกว่า ๑๐๐ ประเทศรวมแล้วถึง ๗๐,๐๐๐ คนเลือกที่จะมาตั้งหลักปักฐานกันที่นี่ ชาวนิวยอร์คหรือNew Yorkersนั้นมีความภาคภูมิใจมากกับอนุภาพสาวรีย์เทพีแห่งเสรีภาพซึ่งสื่อความหมายถึงการอพยพโยกย้ายของผู้คนจากทุกมุมโลกมาอยู่ที่นั่น แต่ถ้าดูตามสถิติตัวเลขแล้วจะเห็นได้ว่านิวยอร์คเทียบไม่ติดฝุ่นเลยกับโตรอนโตเพราะข้อมูลล่าสุดคือ ชาวโตรอนโตครึ่งหนึ่งเกิดที่นี่และอีกครึ่งหนึงเป็นผู้อพยพที่มาจากประเทศอื่นๆจำนวนอีก ๕๐เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมดในโตรอนโต เมื่อเทียบกับนิวยอร์คที่มีจำนวนเพียง ๒๘ เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เป็นผู้อพยพมาจากประเทศอื่น ชาวโตรอนโตที่อพยพมาใหม่เหล่านี้ต่างพากันกระจัดกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่างๆและทำให้เกิดการขยายตัวของเมืองใหม่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วการหลั่งไหลกันเข้ามาที่โตรอนโตอย่างต่อเนื่องทุกปีของผู้อพยพทำให้เกิดการตื่นตัวของธุรกิจบ้านเช่า, รัฐบาลต้องจัดเตรียมโปรแกรมต่างๆทั้งภาษาและบริการทางสังคมให้ทั่วถึง ผู้คนหลากเชื้อชาติหลายภาษาเข้ามาอยู่รวมกันบางครั้งก็อาจเกิดความคับคั่งเหมือนกัน แต่โดยรวมๆแล้วทั้งผู้อพยพและผู้ลี้ภัย refugees ต่างก็นำเอาความสดใสมีชีวิตชีวามาสู่โตรอนโต ธุรกิจการค้า ร้านรวงต่างๆพากันบานสะพรั่งต้อนรับผู้มาใหม่ มีวัฒนธรรมแปลกใหม่ รวมทั้งอาหารการกินของทุกชาติทุกภาษาที่สามารถหาชิมได้กันตามอัธยาศัย ในปี ๒๐๐๑, โตรอนโตกลายเป็นเมืองที่โลกทั้งใบมารวมอยู่ในที่เดียวกันที่นี่ นั่นคือ โตรอนโตที่มีประชากรราวๆ ๓ ล้านคน (แคนาดาทั้งประเทศมี ๓๑ ล้านคน) ปรากฏว่าครึ่งหนึ่งเป็นผู้อพยพ ผู้อพยพเหล่านี้คิดได้เป็น ๒๕ เปอร์เซ็นต์ของผู้อพยพทั้งหมดทั่วประเทศแคนาดา โตรอนโตมีการเพิ่มของประชากรอย่างรวดเร็วและ ๙๒ เปอร์เซ็นต์มาจากการอพยพเข้ามาของผู้อพยพ ชาวโตรอนโต ๑ ใน ๕ อพยพมาแคนาดาหลังปี ๑๙๘๑, และจำนวน ๑ ใน ๑๐ อพยพมาหลังปี ๑๙๙๑ ประชากรของโตรอนโตอพยพมาจาก ๑๖๙ ปะเทศและพูดภาษาต่างมากถึง ๑๐๐ ภาษา (ภาษาต่างประเทศที่มีผู้ใช้มากอันดับหนึ่งคือ ภาษาจีน, อิตาเลียนและโปรตุเกส) มีภาษาในการสื่อสารมวลชนถึง ๓๕ ภาษา ในเทศกาลรอมาดอนมีชาวมุสลิมเข้าร่วมถึง ๒๐๐,๐๐๐ คน, มีชาวซิกข์กว่า ๘๐,๐๐๐ คน ชาวยิวทั่วแคนาดาครึ่งหนึ่งอาศัยอยู่ที่โตรอนโต ชนกลุ่มน้อยสารพัดเชื้อชาติต่างๆมากมาย รวมๆแล้วมากกว่าประชากรในมณฑลอื่นๆของแคนาดาเช่น ในแถบฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติค, Saskatchewan หรือ Manitoba เสียอีก |
ปีที่ ๙๙ แห่งการเฉลิมฉลองประจำปีขบวนแห่ซานตาคล๊อส เด็กๆทั่วโตรอนโตต่างตั้งตาคอยพบกับซานตาคล๊อสที่ตนชื่นชอบในขบวนแห่ซานตาคล๊อสประจำปีซึ่งปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ ๙๙ แล้ว ขบวนแห่ปี 2003 นี้สร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะให้กับเด็กๆทั่วโตรอนโตปรากฏขึ้นอีกครั้งเมือได้เห็นคุณลุงซานตาคล๊อสผุ้ใจดีอีกครั้ง หลังจากตั้งตาคอยกันมาตลอดปีว่าปีนี้ขบวนแห่ซานตาคล๊อสจะมีอะไรใหม่ๆน่าสนใจมามอบให้กับเด็กๆในโตรอนโต แล้วทุกคนก็ไม่ผิดหวัง เพราะขบวนแห่ในปีนี้ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ที่ผ่านมามีความยาวถึง ๕.๗ กิโลเมตร ตั้งต้นตั้งแต่ corner of Bloor and Christie Streetsแล้วมุ่งหน้าเดินขบวนกันไปเรื่อยตามถนนสายหลักต่างๆในย่านใจกลางเมืองโตรอนโต ประกอบไปด้วยสีสันต่างๆและความตระการตามามอบให้กับเด็กและเยาวชนกันอย่างจุใจทีเดียว (ดูภาพประกอบ) |
หนังสือพิมพ์/สื่อสิ่งพิมพ์/นิตยสาร ๒๕๐ ฉบับ ตีพิมพ์ออกเป็นภาษาท้องถิ่นชาติต่างๆทั่วโลก วางตลาดตามแผงหนังสือในนครโตรอนโต ข่าวหลายๆข่าวซึ่งไม่ได้เป็นการรายงานจากหนังสือพิมพ์ใหญ่ๆของแคนาดา ตัวอย่างเช่นเมื่อช่วงต.ค. ๔๖ ตอนที่พายุเฮอริเคน”อิสซาเบล”ถล่มสหรัฐอเมริกาฝั่งตะวันออกอย่างหนัก มีรายงานข่าวมาจากนสพ.ท้องถิ่นเล็กๆว่า มีเหยื่อผู้เสียชีวิตเป็นชาวศรีลังกาวัย ๒๗ ปี เป็นบัณฑิตเพิ่งจบการศึกษาและอาศัยอยู่ในรัฐเวอร์จิเนียร์ของอเมริกา ถูกต้นไม้หักพังลงมาล้มทับจนเสียชีวิต ขณะเดินถือร่มท่ามกลางพายุฝนโดยมองไม่เห็นต้นไม้ที่กำลังโค่นล้มลงมา หรือข่าวเรื่องชาวศรีลังกาถูกงูพิษกัดตายในช่วงห้าปีที่ผ่านมาถึง ๕๐๐ คน ข่าวนางงามศรีลังกาซึ่งเดินทางมาเป็นทูตสันถวไมตรีได้แวะจิบน้ำชากับท่านทูตที่สถานกงสุลในโตรอนโต เป็นต้น ข่าวลักษณะแบบนี้ มักมาจากการรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของชาวศรีลังกามากมายหลายสิบฉบับ ซึ่งวางแผงอยู่ตามวัด โบสถ์ หรือร้านขายของชำทั่วไป บางฉบับก็แจกฟรี นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น เพราะที่จริงแล้วหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของชนเชื้อสายต่างๆที่ตีพิมพ์ในโตรอนโต ว่ากันว่า น่าจะประมาณอยู่ที่ ๒๕๐-๓๐๐ ฉบับ สิงพิมพ์เหล่านี้บางฉบับเป็นนสพ.รายวันพิมพ์ ๔ สีอย่างดี (เช่นนสพ.ภาษาจีนรายวันมี ๓ ฉบับ เป็นของชาวจีนฮ่องกงและไต้หวัน), บางฉบับเป็นขาว-ดำ รายสัปดาห์, รายปักษ์, รายเดือน หรือ รายสะดวก หาอ่านได้ทั่วไปจากร้านขายของชำบ้าง, ซุปเปอรมาร์เก็ตบ้าง หรือ ตามร้านอาหารในย่าน Little India, Little Jamaica, ย่าน Greek Town, China Town (มีถึง ๓ แห่ง), Korean Town, Little Italy, Kensington Market (ตลาดเก่าแก่ของโตรอนโต มีชนเชื้อชาติต่างๆกว่า ๕๐ ชาติอาศัยรวมกันอยู่ที่นี่มากว่าร้อยปี) ลองดูว่าหนังสือพิมพ์เหล่านี้ใช้ชื่ออย่างไร เช่น Patrides (Greek), Corriere Canadese (Italian) ก่อตั้งเมื่อคศ. 1954, Shahrvand (Iranian), El Popular (Spanish), New Horizon (Chinese), The New Pathway (Ukranian) ก่อตั้งเมื่อคศ.1930, Share (ชนผิวดำและชาวWest Indian)เป็นต้น หนังสือพิมพ์เหล่านี้มีการแข่งขันกันไม่เบาทีเดียว เรียกว่าใครทุนไม่หนาขายไม่ดีก็ไปไม่รอดเหมือนกัน แต่บางฉบับก็ไม่ได้ทำในเชิงธุรกิจ ชุมชนเป็นผู้สนับสนุนเพื่อให้เป็นสื่อกลางในการสื่อสารเชื่อมโยงข้อมูลถึงกัน (ข้อมูลข้างต้นกรองมาจากบทวิจัยของศาสตราจารย์ John Miller ภาควิชาสื่อสารมวลชนแห่ง Ryerson Universityในนครโตรอนโต) ในนครโตรอนโตแห่งนี้ซึ่งมีประชากรรวมกันถึง ๕ ล้านคน มีคนไทยอยู่เพียง 3,000 กว่าคนโดยประมาณ ทั่วประเทศแคนาดามีคนไทยอาศัยอยู่เพียงประมาณหมื่นกว่าคนเท่านั้น |
|
สิทธิเสมอภาค…คู่รักร่วมเพศ (เกย์ – เลสเบี้ยน)ภาพข้างบน: ถ่ายจากขบวนแห่เฉลิมฉลองประจำปีอันยิ่งใหญ่ของชาวเกย์ – เลสเบี้ยนในแคนาดา (Gay Pride Day) | |
โดย KATHLEEN HARRIS – จากข้อมูลสื่อสิ่งพิมพ์ Free Press Parliamentary Bureau เมื่อ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ชาวรักร่วมเพศไม่ว่าจะเป็นเกยหรือเลสเบี้ยนจากสหรัฐจำนวนมาก กำลังเตรียมตัวที่จะอพยพมาอยู่ในแคนาดาเนื่องจากนโยบายเปิดเสรีของแคนาดา ซึ่งยอมรับการแต่งงานใช้ชีวิตอยู่กินกันแบบคู่สมรสเพศเดียวกัน (Same-sex partner) ว่าเป็นสิ่งถูกต้องตามกฎหมาย ในขณะที่ในสหรัฐอเมริกา กลับมีนโยบายที่อนุรักษ์นิยมมากกว่า กีดกันและไม่ยอมรับการแต่งงานของคนเพศเดียวกันว่าเป็นสิ่งถูกต้องยอมรับได้ตามกฎหมาย ชาวเกย์หรือเลสเบี้ยนอเมริกันต่างให้เหตุผลกันในแง่มุมต่างๆนานา แต่โดยสรุปก็คือ ทุกคนรู้สึกว่ารัฐบาลอเมริกันลำเอียงและแบ่งชั้นวรรณะในเรื่องนี้ ทำให้คนเหล่านี้ไม่สามารถที่จะใช้ชีวิตร่วมกันถาวรได้อย่างปรกติสุขแบบคู่สมรสทั่วไป นโยบายเปิดกว้างของรัฐสภาแคนาดาซึ่งพากันลงคะแนนเสียงยอมรับในเรื่องนี้ เมื่อกลางปี ๒๕๔๖ ที่ผ่านมา ทำให้แคนาดามีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกในเรื่องของความใจกว้างและการมีแนวความคิดที่ทันสมัยก้าวหน้า โดยเฉพาะในช่วงเวลาเพียงไม่กี่เดือนหลังจากประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ ปรากฏว่าแค่รัฐออนทาริโอเพียงแห่งเดียว แผนกทะเบียนสมรสของที่ว่าการนครโตรอนโตได้จดทะเบียนสมรสให้กับคู่สมรสเพศเดียวกันถึงมากกว่า ๙๐๐ คู่ ในจำนวนนี้เป็นคู่เกย์/เลสเบี้ยนชาวอเมริกันถึง ๓๑๑ คน, มาจากชาติต่างๆทั่วโลกอีก ๓๔ คู่และที่เหลือเป็นชาวแคนาดา (ปัจจุบันมี่เพียง 4 ประเทศในโลก ที่ยอมรับในเรื่องการแต่งงานของคู่สมรสเพศเดียวกัน คือ เบลเยี่ยม แคนาดา เนเธอร์แลนด์ และสเปน)
| |
| |
|
ในมณฑลควีเบคซึ่งเป็นสังคมที่ประชากรถึง ๘๒ เปอร์เซ็นต์ใช้ภาษาฝรั่งเศสในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เปิดกว้างรับผู้อพยพจากชาติต่างๆมากเกินกว่าร้อยชาติจากทั่วโลก โดยจำนวนผู้อพยพมาอยู่ควีเบ็คในแต่ละปีมีจำนวนมากเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิ่จและมีการพัฒนาความหลากหลายทางด้านสังคมและวัฒนธรรมต่อควีเบ็คเป็นอย่างมาก รัฐบาลมณฑลควีเบ็คมีนโยบายในการรักษาวัฒนธรรมแบบฝรั่งเศส รวมทั้งภาษาพูด ได้ออกเป็นกฎหมายในการกำหนดให้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาหลักของมณฑล แต่ขณะเดียวกันก็ยังคงสนับสนุนให้ประชากรสามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองควบคู่กันไป โดยประชากรที่ใช้อังกฤษเป็นภาษาหลักก็มีจำนวนมากมายตามเมืองต่างๆทั่วไป ในชีวิตประจำวันทั่วไปนั้น จะสังเกตได้ว่าชาวควีเบ็คโดยส่วนใหญ่สามารถพูดภาษาทั้งฝรั่งเศสและอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว ในควีเบ็คหลักสูตรการศึกษากำหนดให้ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นส่วนใหญ่ แต่หลักสูตรภาษาอังกฤษก็ยังคงมีการสอนทั่วไปโดยเฉพาะในสถาบันการศึกษาเอกชน |
นครมอนทรีออล (Montreal) เมืองหลวงของมณฑลควีเบ็ค ถือได้ว่าเป็นนครใหญ่ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสใหญ่เป็นอันดับสองของโลกเลยที่เดียว รองลงมาจากกรุงปารีสของฝรั่งเศส มอนรีออลมีประชากรหลากหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและเป็นเมืองนานาชาติที่มีธุรกิจติดต่อค้าขายไปทั่วโลก ธุรกิจส่วนใหญ่ในมอนทรีออลนั้นเป็นธุรกิจในระดับค้าขายในระดับโลก โดยเฉพาะเทคโนโลยีระดับสูงในด้านต่างๆ ควีเบ็คมีการศึกษาในระดับโลกซึ่งถือเป็นภาคธุรกิจอีกแขนงหนึ่งที่สำคัญมาก นอกจากนี้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตในระดับสูง มีสิ่งแวดล้อมที่สะอาดปลอดภัย |
Quebec – Canada’s Gateway To The World ด้วยทำเลที่ตั้งโดดเด่นอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) ของทวีปอเมริกา ทำให้มณฑลควีเบ็คเป็นเมืองธุรกิจที่ทันสมัยล้ำยุคและมีโครงข่ายเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงไปทั่วภูมิภาคอเมริกาเหนือ เป็นเมืองที่มีกลิ่นอายของวัฒนธรรมเก่าแก่ของยุโรปและความศิวิไลซ์ของเมืองทันสมัยในแบบฉบับของอเมริกาเหนือผสมผสานกันอย่างลงตัวเมืองหลวงของควีเบ็คคือมอนทรีออลซึ่งเป็น most cosmopolitan cities in North America มอนทรีออลเป็นเมืองสำคัญที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของควีเบ็ค เพราะมีลักษณะโดดเด่นอย่างยิ่งในหลายด้านเช่น ด้านเศรษฐกิจที่มีศักยภาพสูงและมีอัตราการเจริญเติบโตสูงมาก แต่ในขณะที่ค่าใช้จ่ายต้นทุนในการดำเนินการธุรกิจกลับต่ำ ค่าครองชีพถูกแทบจะเรียกได้ว่า ถูกที่สุดในอเมริกาหรือแคนาดาก็ว่าได้ เชื่อไหมว่านักธุรกิจที่นี่กว่า 80% พูดได้ทั้งภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสอย่างคล่องแคล่วและอีกประมาณ 20%จากในกลุ่มนี้พูดได้ถึง สามภาษาหรือมากกว่านั้นอย่างคล่องแคล่วเลยทีเดียว ควีเบ็คมีระบบการจัดเก็บภาษีทียืดหยุ่นและและมีสิ่งล่อใจ, แรงจูงใจ เป็นที่ชื่นชอบของนักธุรกิจ ควีเบ็คมีนโยบายแบบใจกว้างและส่งเสริมจูงใจให้ธุรกิจต่างๆโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนาในเทคโนโลยีใหม่ๆในระดับสูง สามารถที่จะขอหักลดหย่อนภาษี, ขอคืนภาษีรูปแบบต่างๆ มีโปรแกรมยกเว้นภาษีถึง ๕ ปีสำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการว่าจ้างนักวิจัยหรือผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศในการเข้ามาทำงานค้นคว้าวิจัยในควีเบ็ค มอนทรีออลเป็นเมืองแห่งมหาวิทยาลัยที่สำคัญของแคนาดา เพราะรัฐบาลมณฑลควีเบ็คให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในเรื่องการศึกษา ดังนั้นมหาวิทยาลัยในควีเบ็คจึงมีชื่อเสียงโดดเด่นอย่างเห็นได้ชัดในระดับโลก ด้วยคุณภาพการศึกษาที่สูงและด้วยจำนวนบัณฑิตในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและธุรกิจที่สูงกว่ามาตรฐานเฉลี่ยของแคนาดาโดยรวม ยิ่งไปกว่านั้นอัตราส่วนจำนวนนักศึกษามหาวิทยาลัยต่อจำนวนประชากรของควีเบ็คมีอัตราที่สูงที่สุดในอเมริกาเหนือ เรามาลองดูกันว่าควีเบ็คมีความโดดเด่นในด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอย่างไร สาขาInformation technologies 50% สาขาAerospace production 50% สาขาPharmaceuticals 45% สาขาBiotechnology 40% สาขาHigh technology exports 38% ถ้าดูตามตัวเลขสถิติข้างต้นนี้ จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเศรษฐกิจของควีเบ็คนั้นล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับในเรื่องของเทคโนโลยีระดับสุงทั้งสิ้น จึงเป็นเหตุให้ควีเบ็คมีรายได้เข้ารัฐมหาศาลและมีสวัสดิการต่างให้กับประชาชนของตนเองอย่างมากมาย ดูเหมือนจะมากกว่ามณฑลอื่นๆในแคนาดาด้วยกันอย่างเห็นได้ชัด |
มณฑลควีเบ็ค – เมืองที่เศรษฐกิจเกี่ยวพันต่อเนื่องกับเศรษฐกิจฐานความรู้ (knowledge-based economy)และเมืองแห่งมหาวิทยาลัยและการค้นคว้าวิจัยด้านอุตสาหกรรม ควีเบ็คมีมหาวิทยาลัยและเครือข่ายศูนย์วิจัยด้านต่างๆซึ่งเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม ในปี ๒๐๐๒ มีนักศึกษากว่า ๒๔๖,๐๐๐ คนลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยต่างๆกว่า ๑๙ แห่งรวมทั้งศูนย์วิจัยต่างๆทั่วควีเบ็ค มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดของควีเบ็คสี่อันดับแรก อยู่ในเมืองมอนทรีออล โดยสองมหาวิทยาลัยสอนเป็นภาษาฝรั่งเศส, อีกสองมหาวิทยาบัยสอนเป็นภาษาอังกฤษ นครมอนทรีออลมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดและมีการแลกเปลี่ยนนักวิจัยหรือผลงานวิจัยกับศูนย์กลางการวิจัยที่มีชื่อเสียงในระดับโลกอย่างเช่น สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเส็ท (Massachusetts Institute of Technology – MIT), universities of Toronto, หรือไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยซึ่งมีชื่อเสียงในระดับโลกอย่างเช่น Yale, Harvard, Princeton and Cornell ล้วนแล้วแต่อยู่ห่างจากมอนทรีออลเพียงแค่เวลาหนึ่งชั่วโมงเท่านั้นโดยทางเครื่องบิน มอนทรีออลเป็นเมืองอันดับสองในทวีปอเมริกาเหนือ (โดยเทียบกับเมืองใหญ่อีก ๓๐ เมือง) ซึ่งมีสัดส่วนจำนวนนักศึกษามหาวิทยาลัยต่อจำนวนประชากรสูงเป็นรองก็เพียงเมืองบอสตันของสหรัฐฯ ด้วยจำนวนนักศึกษา ๔.๒ คนต่อประชากร ๑๐๐ คน ในปี ๒๐๐๒, มหาวิทยาลัยในควีเบ็คผลิตบัณฑิตในสาขาวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆถึง ๑๐,๕๐๐ คนและบัณฑิตในสาขาวิทยาศาสตร์ด้านอนามัย/การแพทย์ถึง ๔,๕๐๐ คน มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในควีเบ็คยกตัวอย่างเช่น McGill University, Universit้ de Montr้al, Universit้ Laval and Universit้ de Sherbrooke. สถาบันการศึกษาด้านเทคโนโลยีระดับสูงเฉพาะทางหลายแห่งที่มีชื่อเสียงเช่น สาขาวิศวกรรมอวกาศ (Aerospace)-มีการเรียนการสอนใน Concordia University , Université Laval , McGill University , Université de Montréal (French language) และ Université de Sherbrooke(French language) ปริญญามหาบัณพิตด้านบริหารธุรกิจการขนส่งทางอากาศ – Air Transport MBA มีการสอนที่Concordia University ประกาศนียบัตร/ปริญญาบัตรในสาขาการสร้างอากาศยาน (Aeronautical Construction) สาขาเเทคโนโลยีการบินและการซ่อมบำรุงอากาศยาน (Avionics and Aircraft Maintenance) ก็มีเปิดสอนที่ Ecole nationale d’a้rotechnique de Saint-Hubert(French language) และที่ John Abbott College รวมทั้งวิทยาลัยการพาณิชย์ยานอวกาศก็มีสอนที่ École des métiers de l’aérospatiale de Montréal ด้านอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์/ยา (Pharmaceutical industry) มีมหาวิทยาลัยถึง ๔ แห่งที่มีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับบริษัทฯผู้ผลิตยาเช่น McGill University, Université Laval, Université de Montréal (French language) และ Université de Sherbrooke(French language) ควีเบ็คถือได้ว่าเป็นแหล่งขุมปัญญาและความรู้ที่สามารถผลิตบัณฑิตคุณภาพป้อนสู่อุตสาหกรรมยากว่า ๒๓,๐๐๐ คน, นักวิจัยในสาขาต่างๆกว่า ๑๐,๐๐๐ คนและทุกๆปีจะมีบัณฑิตใหม่ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ยาและเวชภัณฑ์ต่างๆถึงกว่า ๕,๐๐๐ คนต่อปี |
มณฑล Quebec พยายามหาแนวทางในการเชื้อเชิญให้ผู้อพยพออกไปตั้งรกรากในพื้นที่ชนบทรอบนอกมากขึ้น รัฐมนตรีกระทรวงผู้อพยพของมณฑลควีเบค ฯพณฯ Michelle Courchesneกำลังตั้งเป้าหมายในการพยายามหาแนวทางกระตุ้นเชื้อเชิญให้ผู้อพยพมาใหม่ไปตั้งรกรากในพื้นที่รอบนอกเมืองใหญ่ให้มากขึ้น เพราะกว่า ๘๕ เปอร์เซ็นต์ของผู้อพยพพากันเข้าไปอยู่แต่ในเมืองใหญ่เช่น Montreal, เมืองQuebec City ดังนั้นรัฐบาลมณฑลควีเบคกำลังพยายามสร้างแรงจูงใจโดยประกาศนโยบายเพิ่มสวัสดิการหรือผลประโยชน์พิเศษแก่ผู้ที่เลือกออกไปอยู่อาศัยตามเมืองเล็กเมืองน้อยต่างๆนอกเหนือจากเมืองใหญ่ เพื่อให้การพัฒนาทางเศรษฐกิจมีการกระจายตัวออกไปตามพื้นที่ต่างๆทั่วทั้งมณฑล มิฉะนั้นมีแต่เมืองใหญ่เท่านั้นที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากการอพยพเข้ามามณฑล |
รัฐบาลแคนาดากำลังหาทางเชื้อเชิญแรงงานวัยเกษียณที่เรียกว่า Baby boomers ให้ทำงานต่อหลังเกษียณ เพื่อชดเชยปัญหาแรงงานที่กำลังขาดแคลนอย่างรุนแรงในแคนาดา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมณฑลที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วเนื่องมาจากอุตสาหกรรมน้ำมันและพลังงานในมณฑล Alberta และมณฑล Saskatchewan เป็นต้น |
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแคนาดา (Statistics Canada) รายงานว่าประชากรในวัยเกษียณที่คิดเป็นสัดส่วนได้ถึง 45% ของแรงงานทั้งหมดในแคนาดา กำลังทยอยพากันเกษียณอายุออกจากงาน ประชากรกลุ่มนี้ถูกเรียกว่า Baby boomers (คนที่เกิดระหว่างปี 1946-1964 ในช่วงภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง) แรงงานกลุ่ม Baby boomers นี้ 78% มีอายุอยู่ในช่วงระหว่าง 40-69 ปี |
รัฐบาลแคนาดาต้องหาทางดึงดูดแรงงานวัยเกษียณกลุ่มนี้ให้ยังคงทำงานต่อไปในระบบ โดยต้องให้ความรู้ความเข้าใจต่อคนเหล่านี้ว่า ในโลกปัจจุบันผู้คนมีอายุยืนยาวนานขึ้นกว่าผู้คนในสมัยก่อนนี้ ดังนั้นรัฐบาลต้องใช้วิธีการต่างๆดึงดูดใจคนเหล่านี้ให้ทำงานต่อ วิธีการง่ายๆที่ใช้ได้ผลเช่น การกำหนดเวลาทำงานในแต่ละสัปดาห์ให้สั้นลง |
โครงการเกษียณตอนอายุ 55 ปี (“Freedom 55”) ซึ่งในสมัยก่อนเคยใช้จูงใจให้พนักงานเกษียณอายุก่อนกำหนด ได้รับการพิสูจน์ว่า โครงการนี้ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ในโลกแห่งความเป็นจริงอีกต่อไปที่ผู้คนในปัจจุบันมีอายุยืนยาวถึง 85 ปี หลายปีที่ผ่านมารัฐบาลมณฑล Ontario ได้แก้ไขกฎหมายอนุญาตให้พนักงานที่มีอายุครบเกษียณ 65 ปี สามารถทำงานต่อเนื่องไปได้โดยไม่ต้องเกษียณออกจากงาน ถ้าบุคคลเหล่านั้นเลือกที่จะทำงานต่อไป |