Toronto: เมืองศูนย์กลางของผู้คนจากทั่วโลก
Toronto: เมืองศูนย์กลางของผู้คนจากทั่วโลกToronto: the world in one city หลายคนอาจจะไม่ค่อยเชื่อว่าว่าโตรอนโตเป็นเมืองที่มีวัฒนธรรมหลากหลายมากที่สุดในโลก ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรกันแน่ ในปี ๑๙๙๙ ปีเดียวมีผู้อพยพทั้ง immigrantsและ refugeesจากทั่วโลกกว่า ๑๐๐ ประเทศรวมแล้วถึง ๗๐,๐๐๐ คนเลือกที่จะมาตั้งหลักปักฐานกันที่นี่ ชาวนิวยอร์คหรือNew Yorkersนั้นมีความภาคภูมิใจมากกับอนุภาพสาวรีย์เทพีแห่งเสรีภาพซึ่งสื่อความหมายถึงการอพยพโยกย้ายของผู้คนจากทุกมุมโลกมาอยู่ที่นั่น แต่ถ้าดูตามสถิติตัวเลขแล้วจะเห็นได้ว่านิวยอร์คเทียบไม่ติดฝุ่นเลยกับโตรอนโตเพราะข้อมูลล่าสุดคือ ชาวโตรอนโตครึ่งหนึ่งเกิดที่นี่และอีกครึ่งหนึงเป็นผู้อพยพที่มาจากประเทศอื่นๆจำนวนอีก ๕๐เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมดในโตรอนโต เมื่อเทียบกับนิวยอร์คที่มีจำนวนเพียง ๒๘ เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เป็นผู้อพยพมาจากประเทศอื่น ชาวโตรอนโตที่อพยพมาใหม่เหล่านี้ต่างพากันกระจัดกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่างๆและทำให้เกิดการขยายตัวของเมืองใหม่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วการหลั่งไหลกันเข้ามาที่โตรอนโตอย่างต่อเนื่องทุกปีของผู้อพยพทำให้เกิดการตื่นตัวของธุรกิจบ้านเช่า, รัฐบาลต้องจัดเตรียมโปรแกรมต่างๆทั้งภาษาและบริการทางสังคมให้ทั่วถึง ผู้คนหลากเชื้อชาติหลายภาษาเข้ามาอยู่รวมกันบางครั้งก็อาจเกิดความคับคั่งเหมือนกัน แต่โดยรวมๆแล้วทั้งผู้อพยพและผู้ลี้ภัย refugees ต่างก็นำเอาความสดใสมีชีวิตชีวามาสู่โตรอนโต ธุรกิจการค้า ร้านรวงต่างๆพากันบานสะพรั่งต้อนรับผู้มาใหม่ มีวัฒนธรรมแปลกใหม่ รวมทั้งอาหารการกินของทุกชาติทุกภาษาที่สามารถหาชิมได้กันตามอัธยาศัย ในปี ๒๐๐๑, โตรอนโตกลายเป็นเมืองที่โลกทั้งใบมารวมอยู่ในที่เดียวกันที่นี่ นั่นคือ โตรอนโตที่มีประชากรราวๆ ๓ ล้านคน (แคนาดาทั้งประเทศมี ๓๑ ล้านคน) ปรากฏว่าครึ่งหนึ่งเป็นผู้อพยพ ผู้อพยพเหล่านี้คิดได้เป็น ๒๕ เปอร์เซ็นต์ของผู้อพยพทั้งหมดทั่วประเทศแคนาดา โตรอนโตมีการเพิ่มของประชากรอย่างรวดเร็วและ ๙๒ เปอร์เซ็นต์มาจากการอพยพเข้ามาของผู้อพยพ ชาวโตรอนโต ๑ ใน ๕ อพยพมาแคนาดาหลังปี ๑๙๘๑, และจำนวน ๑ ใน ๑๐ อพยพมาหลังปี ๑๙๙๑ ประชากรของโตรอนโตอพยพมาจาก ๑๖๙ ปะเทศและพูดภาษาต่างมากถึง ๑๐๐ ภาษา (ภาษาต่างประเทศที่มีผู้ใช้มากอันดับหนึ่งคือ ภาษาจีน, อิตาเลียนและโปรตุเกส) มีภาษาในการสื่อสารมวลชนถึง ๓๕ ภาษา ในเทศกาลรอมาดอนมีชาวมุสลิมเข้าร่วมถึง ๒๐๐,๐๐๐ คน, มีชาวซิกข์กว่า ๘๐,๐๐๐ คน ชาวยิวทั่วแคนาดาครึ่งหนึ่งอาศัยอยู่ที่โตรอนโต ชนกลุ่มน้อยสารพัดเชื้อชาติต่างๆมากมาย รวมๆแล้วมากกว่าประชากรในมณฑลอื่นๆของแคนาดาเช่น ในแถบฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติค, Saskatchewan หรือ Manitoba เสียอีก |
ปีที่ ๙๙ แห่งการเฉลิมฉลองประจำปีขบวนแห่ซานตาคล๊อส เด็กๆทั่วโตรอนโตต่างตั้งตาคอยพบกับซานตาคล๊อสที่ตนชื่นชอบในขบวนแห่ซานตาคล๊อสประจำปีซึ่งปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ ๙๙ แล้ว ขบวนแห่ปี 2003 นี้สร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะให้กับเด็กๆทั่วโตรอนโตปรากฏขึ้นอีกครั้งเมือได้เห็นคุณลุงซานตาคล๊อสผุ้ใจดีอีกครั้ง หลังจากตั้งตาคอยกันมาตลอดปีว่าปีนี้ขบวนแห่ซานตาคล๊อสจะมีอะไรใหม่ๆน่าสนใจมามอบให้กับเด็กๆในโตรอนโต แล้วทุกคนก็ไม่ผิดหวัง เพราะขบวนแห่ในปีนี้ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ที่ผ่านมามีความยาวถึง ๕.๗ กิโลเมตร ตั้งต้นตั้งแต่ corner of Bloor and Christie Streetsแล้วมุ่งหน้าเดินขบวนกันไปเรื่อยตามถนนสายหลักต่างๆในย่านใจกลางเมืองโตรอนโต ประกอบไปด้วยสีสันต่างๆและความตระการตามามอบให้กับเด็กและเยาวชนกันอย่างจุใจทีเดียว (ดูภาพประกอบ) |
หนังสือพิมพ์/สื่อสิ่งพิมพ์/นิตยสาร ๒๕๐ ฉบับ ตีพิมพ์ออกเป็นภาษาท้องถิ่นชาติต่างๆทั่วโลก วางตลาดตามแผงหนังสือในนครโตรอนโต ข่าวหลายๆข่าวซึ่งไม่ได้เป็นการรายงานจากหนังสือพิมพ์ใหญ่ๆของแคนาดา ตัวอย่างเช่นเมื่อช่วงต.ค. ๔๖ ตอนที่พายุเฮอริเคน”อิสซาเบล”ถล่มสหรัฐอเมริกาฝั่งตะวันออกอย่างหนัก มีรายงานข่าวมาจากนสพ.ท้องถิ่นเล็กๆว่า มีเหยื่อผู้เสียชีวิตเป็นชาวศรีลังกาวัย ๒๗ ปี เป็นบัณฑิตเพิ่งจบการศึกษาและอาศัยอยู่ในรัฐเวอร์จิเนียร์ของอเมริกา ถูกต้นไม้หักพังลงมาล้มทับจนเสียชีวิต ขณะเดินถือร่มท่ามกลางพายุฝนโดยมองไม่เห็นต้นไม้ที่กำลังโค่นล้มลงมา หรือข่าวเรื่องชาวศรีลังกาถูกงูพิษกัดตายในช่วงห้าปีที่ผ่านมาถึง ๕๐๐ คน ข่าวนางงามศรีลังกาซึ่งเดินทางมาเป็นทูตสันถวไมตรีได้แวะจิบน้ำชากับท่านทูตที่สถานกงสุลในโตรอนโต เป็นต้น ข่าวลักษณะแบบนี้ มักมาจากการรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของชาวศรีลังกามากมายหลายสิบฉบับ ซึ่งวางแผงอยู่ตามวัด โบสถ์ หรือร้านขายของชำทั่วไป บางฉบับก็แจกฟรี นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น เพราะที่จริงแล้วหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของชนเชื้อสายต่างๆที่ตีพิมพ์ในโตรอนโต ว่ากันว่า น่าจะประมาณอยู่ที่ ๒๕๐-๓๐๐ ฉบับ สิงพิมพ์เหล่านี้บางฉบับเป็นนสพ.รายวันพิมพ์ ๔ สีอย่างดี (เช่นนสพ.ภาษาจีนรายวันมี ๓ ฉบับ เป็นของชาวจีนฮ่องกงและไต้หวัน), บางฉบับเป็นขาว-ดำ รายสัปดาห์, รายปักษ์, รายเดือน หรือ รายสะดวก หาอ่านได้ทั่วไปจากร้านขายของชำบ้าง, ซุปเปอรมาร์เก็ตบ้าง หรือ ตามร้านอาหารในย่าน Little India, Little Jamaica, ย่าน Greek Town, China Town (มีถึง ๓ แห่ง), Korean Town, Little Italy, Kensington Market (ตลาดเก่าแก่ของโตรอนโต มีชนเชื้อชาติต่างๆกว่า ๕๐ ชาติอาศัยรวมกันอยู่ที่นี่มากว่าร้อยปี) ลองดูว่าหนังสือพิมพ์เหล่านี้ใช้ชื่ออย่างไร เช่น Patrides (Greek), Corriere Canadese (Italian) ก่อตั้งเมื่อคศ. 1954, Shahrvand (Iranian), El Popular (Spanish), New Horizon (Chinese), The New Pathway (Ukranian) ก่อตั้งเมื่อคศ.1930, Share (ชนผิวดำและชาวWest Indian)เป็นต้น หนังสือพิมพ์เหล่านี้มีการแข่งขันกันไม่เบาทีเดียว เรียกว่าใครทุนไม่หนาขายไม่ดีก็ไปไม่รอดเหมือนกัน แต่บางฉบับก็ไม่ได้ทำในเชิงธุรกิจ ชุมชนเป็นผู้สนับสนุนเพื่อให้เป็นสื่อกลางในการสื่อสารเชื่อมโยงข้อมูลถึงกัน (ข้อมูลข้างต้นกรองมาจากบทวิจัยของศาสตราจารย์ John Miller ภาควิชาสื่อสารมวลชนแห่ง Ryerson Universityในนครโตรอนโต) ในนครโตรอนโตแห่งนี้ซึ่งมีประชากรรวมกันถึง ๕ ล้านคน มีคนไทยอยู่เพียง 3,000 กว่าคนโดยประมาณ ทั่วประเทศแคนาดามีคนไทยอาศัยอยู่เพียงประมาณหมื่นกว่าคนเท่านั้น |
|